เกี่ยวกับ อบต.

ประวัติความเป็นมา

        แต่แรกเริ่มเดิมทีในสมัยรัชการที่ 5 คลองใหม่เป็นพื้นที่ที่มีลำคลองธรรมชาติมากมาย หลายสายด้วยกัน  บรรยากาศร่มรื่น เรือกสวนไร่นามากมาย  ด้วยชาวบ้านในพื้นที่ล้วนประกอบอาชีพทำนา  ทำสวน  และนำผลผลิตที่ได้มาแลกเปลี่ยน  ซื้อขายกัน  โดยใช้พาหนะคือ เรือ ที่ชาวบ้านใช้ในการบรรทุกสินค้ามาขายกันบริเวณลำคลองสายต่าง ๆ ที่ทะลุผ่านถึงกันได้  นับวันปริมาณการจับจ่ายสินค้าก็เริ่มเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ  คนก็เพิ่มมากขึ้น  แต่สถานที่  คลองกลับแคบลง  ประกอบกับทางอำเภอสามพรานได้งบประมาณมาดำเนินการขุดลอกคลองในพื้นที่  ขยายคลองให้มีบริเวณกว้างมากขึ้น  ทำให้การค้าขายบริเวณดังกล่าวดีและสะดวกขึ้นเรื่อยมา  ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น  มีรายได้เพิ่มขึ้น  และชาวบ้านในละแวกนี้ต่างก็เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “คลองใหม่” ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองขึ้นใหม่ ในปี รศ.112  ที่มีการแบ่งแยกเป็นมณฑล  เป็นอำเภอ  เป็นตำบลขึ้น  เพื่อง่ายต่อการปกครอง  จึงเรียกชื่อตำบลที่ตั้งขึ้นใหม่  โดยเรียกตามชื่อคลองที่ขุดใหม่ว่า “ตำบลคลองใหม่” และใช้เรียกมาจนถึงทุกวันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่  เป็นขนาดกลาง  โดยได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล   เมื่อวันที่  2  มีนาคม  พ.ศ. 2538   มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  เต็มทั้งหมู่บ้าน  5  หมู่   ได้แก่  หมู่ที่ 1,2,3,4,5  และหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  บางส่วน  1  หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่  6

 

     เป็นรูปวงรีซ้อนกัน 2 วง ภายในวงรีประกอบด้วยชื่อ อบต.คลองใหม่ อ.สามพราน จ.นครปฐม และมีภาพของคนกำลังพายเรือในลำคลองซึ่งในเรือได้บรรทุกสินค้าซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตลอดทั้งวัน ทั้งช่วงเช้า ช่วงสาย และช่วงเย็น นับเป็นอาชีพหลักและอาชีพดั้งเดิมของคนในชุมชนที่มีมาแต่โบราณ คือ การทำสวน ทำไร่ แล้วเก็บผลิตผลที่ได้นำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีภาพของการพายเรือบรรทุกสินค้าผลิตผลทางการเกษตรนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกันให้เห็นแล้วก็ตาม แต่ชาวตำบลคลองใหม่ยังได้เล็งเห็นคุณค่าของอาชีพนี้อยู่ จึงมีมติเห็นตรงกันว่า ควรนำภาพคนพายเรือ บรรทุกสินค้าพืชผลทางการเกษตร มาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักและจดจำง่าย

คำขวัญ

    หลวงปู่จ้อยคู่บ้าน พุทธสถานวัดบางช้างเหนือ สัญลักษณ์เรือตราตำบล เขตผลไม้รสดี สืบสานงานประเพณีล้ำค่า ชาวประชาน้ำใจงาม 

วิสัยทัศน์ (Vision)

    “เศรษฐกิจก้าวหน้า การศึกษาก้าวไกล บริหารงานโปร่งใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม      และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนตำบลคลองใหม่”

พันธกิจ ( Mission)

    (1)  ยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน

    (2)  สร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน  ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน

    (3)  บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    (4)  ปรับปรุงและพัฒนาระบบการคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ด้านสาธารณูปโภค/สาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐาน

    (5)  พัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดี และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

 

ทดสอบ ทดสอบ

 

 

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านบางพระ 593 626 674 1,300 คน
หมู่ที่ 2 บ้านคลองใหม่ 871 940 993 1,933 คน
หมู่ที่ 3 บ้านคลองใหม่ 655 813 820 1,633 คน
หมู่ที่ 4 บ้านดอนทอง 221 441 445 886 คน
หมู่ที่ 5 บ้านคลองใหม่ 389 585 613 1,198 คน
หมู่ที่ 6 บ้านสะแกเล็ก 842 1,037 1,083 2,120 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้ง   ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่   ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอสามพราน   ตั้งอยู่เลขที่  159  หมู่  3  ตำบลคลองใหม่   อำเภอสามพราน       จังหวัดนครปฐม   อยู่ห่างจากตัวอำเภอสามพรานประมาณ  2  กิโลเมตร

เนื้อที่   องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่  มีพื้นที่ในความรับผิดชอบทั้งหมด  12.50 ตารางกิโลเมตร  หรือ  7,820    ไร่

ภูมิประเทศ  พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม   มีคลองธรรมชาติและคลองที่ขุดขึ้นมาเพื่อการเกษตร

อาณาเขต     ทิศเหนือ            ติดกับ อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม
                  ทิศใต้               ติดกับ ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
                  ทิศตะวันออก      ติดกับ ตำบลท่าตลาด ตำบลสามพราน  ตำบลหอมเกร็ด                                          และตำบลยายชา  อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

                  ทิศตะวันตก        ติดกับ ตำบลคลองจินดา  อำเภอสามพราน                                                           จังหวัดนครปฐม

การเมืองการปกครอง

        เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง     โดยได้รับ การยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล   เมื่อวันที่  2  มีนาคม  พ.ศ. 2538   มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  เต็มทั้งหมู่บ้าน  5  หมู่   ได้แก่  หมู่ที่ 1,2,3,4,5  และหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  บางส่วน  1  หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่  6

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

การประกอบอาชีพ

        ประชากรในตำบลคลองใหม่   ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอาชีพ   เกษตรกรรม   โดยการปลูกพืช  ได้แก่  ฝรั่ง   ชมพู่   มะพร้าว   ข้าว กล้วยไม้   พืชผักต่างๆ  รองลงมา  ได้แก่   อาชีพรับจ้าง  และค้าขาย

        หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

        -  โรงงานอุตสาหกรรม                                                      ๒๒  แห่ง

มวลชนจัดตั้ง

        -  อปพร.                                                         จำนวน      ๒๓  คน

        -  กลุ่มสตรี                                                       จำนวน      ๙๐  คน

        -  กลุ่มเยาวชน                                                   จำนวน      ๓๐  คน

        -  กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน                                          จำนวน      ๘๐  คน  

        -  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต                    ๖  กลุ่ม   จำนวน  ๑,๐๐๐  คน

        - กลุ่มยุวเกษตร                                                   จำนวน      ๓๐ คน

        - กลุ่มชาวสวนกล้วยไม้                                          จำนวน      ๑๓ คน

        - กลุ่มผู้ใช้น้ำ                                                      จำนวน    ๑๒๓ คน

        - กลุ่มผู้สูงอายุ                                                    จำนวน    ๑๗๐ คน

สภาพทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม

การศึกษา

        -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองใหม่                           จำนวน      ๑    แห่ง

        -  โรงเรียนประถมศึกษา                                           จำนวน      ๔    แห่ง

           (โรงเรียนวัดบางช้างเหนือ)

           (โรงเรียนบ้านคลองใหม่)

           (โรงเรียนบ้านดอนทอง)

           (โรงเรียนนาคประสิทธิ์)

        -  โรงเรียนมัธยมศึกษา                                            จำนวน     ๑    แห่ง

องค์การทางศาสนา

        - วัด(วัดบางช้างเหนือ)                                            จำนวน      ๑    แห่ง

        -  ศาลเจ้า                                                            จำนวน     ๑    แห่ง

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การคมนาคม

        -  ถนนลูกรัง                                                     จำนวน   ๑๑     สาย

        -  ถนนลาดยาง                                                  จำนวน   ๒๑     สาย

        -  ถนน คสล.                                                     จำนวน   ๒๐     สาย

        -  สะพานคอนกรีต                                               จำนวน   ๑๗     แห่ง

การโทรคมนาคม

        - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                                           จำนวน     ๑๕   ตู้

        -  โทรศัพท์บ้าน                                                  ๖๐ เปอร์เซ็นต์

การไฟฟ้า

        -  จำนวนหมู่บ้านที่ใช้กระแสไฟฟ้า                             จำนวน     ๖    หมู่บ้าน

        -  อัตราการใช้ไฟฟ้าของหมู่บ้าน คิดเป็นอัตรา                ๑๐๐   เปอร์เซ็นต์

การสาธารณสุข

        -  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองใหม่                จำนวน     ๑     แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

        -  สถานีตำรวจ                                                      จำนวน     ๑    แห่ง

        -  ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตำบลคลองใหม่        จำนวน     ๑    แห่ง

           (ศูนย์ อปพร.)        

แหล่งน้ำธรรมชาติ

        -  ลำคลอง                                                           จำนวน    ๘   สาย

        -  แม่น้ำ                                                               จำนวน    ๑   สาย

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

        -  อื่นๆ    บ่อบาดาล                                                 จำนวน  ๒๙   แห่ง