โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า/แมว ประจำปี 2562

11 มีนาคม 2562
 ประเภท : ข่าวกิจกรรม
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

 1.   หลักการและเหตุผล

ด้วยศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระปณิธานเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรชาวไทย รวมถังสรรพชีวิตภายใต้ร่มพระบารมีให้ได้รับความผาสุกตราบจนทุกวันนี้ และขออัญเชิญพระกระแสรับสั่งเมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๙ ว่า “ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ”และทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย รัฐบาลได้น้อมรับใส่เกล้าฯสนองพระปณิธาน และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่ง ๒๑๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙ แต่ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งในเวลาต่อมาจึงได้จัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ เพื่อให้มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม

การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในระดับพื้นที่ จะต้องมีการเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เช่น การสังเกตอาการสัตว์ป่วย การแจ้งพบสัตว์ต้องสงสัย  การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ เป็นต้น ส่วนการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะต้องทำเชิงคุณภาพเท่านั้นถึงจะทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันต่อโคเป็นต้นว่า การประเมินสุขภาพสัตว์ก่อนฉีดวัคซีน การควบคุมคุณภาพวัคซีนทั้งการขนส่งและการจัดเก็บ การฉีดวัคซีน  นอกจากนี้ยังรวมถึงเทคนิคการจับสัตว์เพื่อนำมาฉีด หรือทำหมันทั้งการจับโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ หรือการใช้เวชภัณฑ์ก็มีความสำคัญเช่นกันที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการกำจัดโรคพิษสะนัขบ้าซึ่งทั้งหมดนี้ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องถึงจะปฏิบัติงานให้ได้ผลออกมาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มีความครอบคลุมทุกพื้นที่แต่ในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ายังคงมีอยู่เพื่อกำจัดโรคนี้ให้หมดไป เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมควบคู่กันไปหลายประการ และทุกกิจกรรมจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น  การสร้างภูมิโรคจากการให้วัคซีน การลดจำนวนสุนัขจรจัด การควบคุมอัตราการเกิดของสุนัขเลี้ยงและแมว การให้ความรู้ประชาชน และประกาศใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 )มาตรา 67 (3) ที่กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เรื่องการป้องกันและระงับโรคติดต่อ เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสะนัขบ้าในสัตว์ทุกระดับ

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!